Journal Article

โรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (TRICUSPID REGURGITATION)

โรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว (TRICUSPID REGURGITATION)

ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว คือภาวะที่ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดไม่สนิท ส่งผลทำให้เลือดไหลย้อนกลับทาง ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับลิ้นหัวใจทั้ง 4 ลิ้น ลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid valve) เป็นลิ้นหัวใจขวาที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวาและห้องล่างขวา มีหน้าที่ช่วยให้เลือดไหลจากหัวใจห้องบนขวาไปยังห้องล่างขวาและป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หากเกิดภาวะลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว จะทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังหัวใจห้องบนขวาในขณะที่หัวใจห้องล่างขวาบีบตัว ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ส่งไปยังปอดลดน้อยลงและหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นในการส่งเลือดไปยังปอดและอวัยวะอื่น ๆในร่างกาย รวมถึงทำให้เลือดจากร่างกายไหลกลับเข้าหัวใจได้ลำบากทำให้เกิดอาการบวมของแขนขา หรือมีภาวะท้องบวมน้ำได้อีกด้วย




สาเหตุโรคหัวใจไตรคัสปิดรั่ว

  • หัวใจโต (ได้ทั้งหัวใจห้องบนหรือห้องล่างขวา)
  • โรคหัวใจทางฝั่งซ้าย ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ หรือลิ้นหัวใจฝั่งซ้ายผิดปกติ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนเต้นระริก (atrial fibrillation)
  • ความดันหลอดเลือดแดงพัลโมนารีที่ไปปอดสูงผิดปกติ
  • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบบเอ็บสไตน์ (Ebstein's anomaly)
  • ภาวะการอักเสบทั่วร่างกาย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และโรคลูปัส
  • การติดเชื้อ เช่น โรคไข้รูมาติก
  • การใช้ยาลดน้ำหนักบางชนิด เช่น ยาเฟนฟลูรามีนและยาเฟนเทอร์มีน
  • การบาดเจ็บของหัวใจ เช่น จากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือจากการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pacemaker)


อาการเตือนโรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว

  • เหนื่อย อ่อนเพลีย                        
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น เต้นเร็วไม่สม่ำเสมอ
  • อาการไอแห้งๆ
  • หายใจลำบากขณะทำกิจกรรมหรือนอนราบ
  • ตับแข็งเนื่องจากเลือดไหลย้อนมาที่ตับ 
  • ท้องมาร ขา ข้อเท้าและเท้าบวม


การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว

  • แพทย์ตรวจฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ด้วยหูฟังสเต็ทโตสโคป (Stethoscope) 
  • การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram / Transthoracic echocardiogram)
  • การเอกซเรย์ปอด หรือ Chest X-ray
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (ECG/EKG)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)


ทางเลือกในการรักษาโรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว

การรักษาโรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่วขึ้นอยู่ความรุนแรงของลิ้นหัวใจรั่ว ซึ่งถ้าหากการรักษาด้วยยาไม่สามารถรักษาอาการแสดงของโรคหัวใจลิ้นไตรคัสปิดรั่ว เช่น น้ำเกินในปอดหรือภาวะหัวใจวายได้ การรักษาโรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่วจะสามารถรักษาได้ 2 วิธี คือการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือ การซ่อมลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่วผ่านสายสวนด้วย TriClip โดยไม่ต้องผ่าตัด


การผ่าตัดหัวใจโดยการเปิดกระดูกหน้าอก (Isolate tricuspid valve surgery) 

การรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อรักษาลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว สามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดได้ 2วิธี คือ การรักษาแบบการซ่อมแซ่มลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid valve repair) หรือ การรักษาลิ้นหัวใจไตรคัสปิดด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม (Tricuspid valve replacement)


TRANSCATHETER EDGE-TO-EDGE REPAIR (TEER) การซ่อมลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่วผ่านสายสวนด้วย TriClip โดยไม่ต้องผ่าตัด

เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแสดงจากการรั่วของลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่วชนิดรุนแรง ที่ไม่สามารถทำผ่าตัดหัวใจโดยการเปิดกระดูกหน้าอกได้ หรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัด เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหลายโรค เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตจากการผ่าตัด ฟื้นตัวเร็วและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้ป่วย


ข้อดีของการรักษาโรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่วรุนแรงด้วยไตรคลิป (TriClip) ผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด(T-TEER) 

  • ความเสี่ยงในการทำหัตถการต่ำกว่าการผ่าตัดมากโอกาสการติดเชื้อน้อยกว่าการผ่าตัด
  • โอกาสเสียเลือดต่ำ
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วย
  • ลดความรุนแรงของโรค
  • ฟื้นตัวเร็ว(นอนโรงพยาบาล2วัน)


การรักษาด้วย TRICLIP™ เป็นอย่างไร?

เครื่องมือใหม่ที่ใช้ในการรักษาโรคลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่ว ที่เรียกว่า “ไตรคลิป” (TriClip) เป็นวิธีการรักษาลิ้นหัวใจไตรคัสปิดรั่วด้วยการใส่ “ไตรคลิป” (TriClip) โดยแพทย์จะใส่อุปกรณ์เข้าไปทางหลอดเลือดดำที่ขาหนีบ ซึ่งแผลมีขนาดเล็ก ประมาน 8 – 10 มิลลิเมตร (minimal invasive) เพื่อนำอุปกรณ์เข้าสู่หัวใจห้องบนขวา (Right Atrium) เพื่อรักษารอยโรคลิ้นหัวใจรั่ว ด้วยการหนีบจับบริเวณของลิ้นหัวใจที่มีรอยรั่วเข้าด้วยกัน (Transcatheter edge to edge repair) ทำให้ลิ้นหัวใจสามารถปิดสนิทมากขึ้น ซึ่งมีข้อดีคือสามารถคงโครงสร้างของลิ้นหัวใจเดิมไว้ได้ ทำให้การทำงานของหัวใจด้านล่างขวา (Right ventricle) ดีขึ้น ซึ่งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของลิ้นหัวใจและการเกิดลิ่มเลือดจากลิ้นหัวใจน้อยกว่า และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดหัวใจ (Open heart surgery) ลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ระยะเวลาในการักษาตัวในโรงพยาบาลและการพักฟื้นหลังการรักษาน้อยกว่า

Share :

facbook line x